โรค"กลัวความรัก" คืออะไร? ....What is philophobia?
- irene chonnipha
- 11 พ.ค. 2564
- ยาว 1 นาที

โรคกลัวความรักคืออะไร? แล้วอาการของคนเป็นโรคนี้เป็นยังไง? และทำอย่างไรจึงจะก้าวผ่านความกลัวนี้ไปได้ ?
คำว่า philophobia เป็นคำดั้งเดิมที่มาจากประเทศกรีซ ‘philia’ แปลว่ารัก ‘phobia’ แปลว่ากลัว รวมๆกันแล้วก็คือ กลัวความรักนั้นเอง ผู้ป่วยจะรู้สึกกลัวการมีความรักหรือความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับผู้อื่นจนไม่กล้าเริ่มต้น
โรคกลัวความรักคืออะไร ?
โรคกลัวความรัก (Philophobia) คือความกลัวในการมีความรักหรือการเชื่อมโยงทางอารมณ์กับบุคคลอื่น ซึ่งมีคุณสมบัติหลายอย่างเช่นเดียวกับโรคกลัวอื่น ๆ เช่น กลัวสถานที่, กลัวสถานการณ์บางอย่าง,กลัวความรู้สึก, กลัวสัตว์บางชนิด ซึ่งเป็นความหวาดกลัวที่ดูแล้วไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไหร่ ซึ่งความกลัวเหล่านี้ส่วนมากจะเป็นต้นเหตุของโรคแพนิค
อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยหากไม่ได้รับการรักษา มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
- กลัวแมงมุม
- กลัวการขึ้นเครื่องบิน
- กลัวลิฟต์
- กลัวความสูง
- กลัวที่แคบที่มืด
- กลัวสถานที่ทีมีฝูงชนแออัด
- กลัวความอับอาย
เนื่องจากอาการกลัว เป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่งผู้ป่วยจึงไม่อาจแสดงอาการใด ๆ จนกว่าพวกเขาจะได้เผชิญหน้ากับความกลัวหรือสถานกาณ์นั้นๆ
ผู้คนที่มีความรู้สึกว่าความรักมันอันตรายเกินความเป็นจริงหรืออะไรบางอย่างที่ดูไร้เหตุผล คุณอาจจะกำลังประสบกับโรคกลัวความรักอยู่ก็เป็นไปได้ และบางครั้งอาจรู้สึกวิตกกังวลและตื่นตระหนกเมื่อคิดถึงความรัก แพทย์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ภาวะตื่นกลัว

อาการของโรคกลัวความรัก
Philophobia เป็นความกลัวการมีความรัก และกลัวการตกหลุมรักอย่างไม่มีเหตุผลความหวาดกลัวจะรุนแรงมากจนรบกวนการใช้ชีวิตของคุณ อาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล รวมถึงปฏิกิริยาทางอารมณ์และทางกายภาพ ความรู้สึกกลัวหรือหวาดกลัวอย่างรุนแรง
- การหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้กับเพศตรงข้าม
- เหงื่อออก
- หัวใจเต้นเร็ว
- หายใจลำบาก
- ทำงานลำบาก
- เกิดความรู้สึกเกลียดชัง
คุณอาจทราบว่าความกลัวนั้นไม่มีเหตุผล แต่ก็ยังรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมมันได้
โรคกลัวความรัก Philophobia มีความคล้ายคลึงกันกับ disinhibited social engagement disorder (DSED) เป็นความผิดปกติของเด็กที่กลัวการเข้าหาและโต้ตอบกับผู้ใหญ่ที่ไม่คุ้นเคยได้ เช่น การนั่งบนตักของคนอื่นหรือออกไปกับคนแปลกหน้า
การวินิจฉัยโรค
เนื่องจาก Philophobia เป็นโรคที่ไม่ได้พบบ่อยจึงไม่ได้ถูกจัดอันดับรวมอยู่ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติ (DSM) ของสมาคมจิต จึงไม่น่าจะมีการวินิจฉัยอย่างเป็นทางการสำหรับโรคนี้
อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายที่มีความกลัวค่อนข้างรุนแรง อาจมีผลกระทบกับชีวิตประจำวันได้ อย่างเช่น กลายเป็นคนเงียบขรึม หมกมุ่นอยู่กับตัวเอง เก็บกด และหลีกหนีจากสังคม ซึ่งลักษณะดังกล่าวอาจทำให้เกิดความกดดันและความเครียดจนส่งผลกระทบต่อ สุขภาพได้ ควรไปพบนักจิตวิทยา แพทย์หรือนักบำบัดจะประเมินอาการของคุณ
หากไม่ได้รับการรักษา Philophobia อาจเพิ่มความเสี่ยงของคุณสำหรับภาวะแทรกซ้อน ได้แก่
- การแยกตัวออกจากสังคม
- โรคซึมเศร้าและความวิตกกังวล
- การใช้ยาและแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด
- การฆ่าตัวตาย

7 สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณเป็น “โรคกลัวความรัก”
1. คุณยังจมปลักอยู่กับอดีตที่เลวร้ายและขมขื่น
การติดอยู่กับอดีตคือเหตุผลหลักๆเลยของคนเป็นโรคกลัวความรัก คนเหล่านี้มักมีอดีตที่เลวร้ายและยากที่จะลืม คุณอาจจะเคยโดนหักหลักจากคนที่คุณรักมากๆ แล้วความเจ็บปวดครั้งนั้นมันฝังรากลึกลงไปในจิตใจของคุณ
คุณกลัวการที่จะเริ่มต้นใหม่ มันไม่แปลก แต่จะดีกว่าไหมถ้าคุณลองเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆเข้ามาในชีวิตอีกครั้ง เพราะไม่มีอะไรแน่นอนเสมอไปหรอก บางทีมันอาจจะมีเรื่องดีๆเกิดขึ้นกับคุณก็ได้
จงอย่าปิดกั้นหรือปฎิเสธในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น และอย่ามองโลกในแง่ร้ายหลังจากคุณเจอเรื่องร้ายๆมา เพราะชีวิตคนเราไม่มีอะไรเลวร้ายตลอดไปหรอก
2. คุณกลัวการอกหัก
คุณสร้างกำแพงเข้ามากั้นหัวใจคุณ พยายามหลีกเลี่ยงการพบเจอผู้คน ไม่กล้าเปิดใจให้ใคร ที่แย่ไปกว่านั้นคือคุณมีความคิดในแง่ลบที่ว่าทุกคนเข้ามาเพื่อที่จะทำร้ายคุณ....
- เพื่อที่จะหวังผลประโยชน์ในตัวคุณไม่ว่าจะทางธุรกิจหรือใดๆก็แล้วแต่
- เพื่อที่จะหวังที่จะได้หลับนอนกับคุณและเห็นคุณเป็นของเล่นของเขา
ทั้งหมดนี้คือสาเหตุที่คุณกลัวที่จะเริ่มต้นใหม่ รักครั้งเก่าของคุณได้สร้างบาดแผลไว้ให้คุณมากมาย และกว่าที่คุณจะผ่านมามันได้ คุณใช้เวลากับมันไปค่อนข้างเยอะ สิ่งนี้มันเลยกลายเป็นปมในใจ
และสุดท้ายนี้คุณเลือกที่จะปกป้องหัวใจดวงน้อยๆของคุณด้วยการปิดกั้นตัวเอง

3. คุณไม่สามารถเปิดใจกับคนอื่นได้
ลองเช็คตัวเองดูว่ามีอาการเหล่านี้ไหม ? เวลามีใครสักคนเข้ามาในชีวิตคุณ คุณเริ่มรู้สึกดี ทันใดที่คุณรู้ตัว คุณจะปลีกตัวห่างออกจากเขาเหล่านั้นทันที เพราะว่าคุณกลัวการที่จะตกหลุมรัก
สิ่งที่ทำให้คุณกลัวมากที่สุดเกี่ยวกับการตกหลุมรักคือความรักที่ผูกพันกับอารมณ์ การเปิดใจรับอีกคนในระดับที่ลึกซึ้งขึ้นและสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายและความผูกพันทางอารมณ์เป็นสิ่งที่คุณคาดไม่ถึง
อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่แค่ความสัมพันธ์ฉันรักโรแมนติกเท่านั้น มันยังหมายถึงการใช้ชีวิตประจำวันของคุณด้วย คุณค่อนค้างที่จะเป็นคนเก็บตัวและโลกส่วนตัวสูง
ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ชอบการเข้าสังคมซะเลยทีเดียว
คุณอาจมีเพื่อนมากมายที่ชวนคุณออกไปสังสรรค์ปาร์ตี้ คุณก็สามารถไปร่วมวงกับเพื่อนได้อย่างไม่มีปัญหาอะไร แต่คุณไม่ค่อยสบายใจที่จะแสดงตัวตนที่แท้จริงของคุณให้โลกได้เห็น
4. คุณมีปัญหาเรื่องความเชื่อใจและรู้สึกไม่ไว้วางใจใคร
หากคุณเคยถูกโดนทรยศหรือหักหลังในอดีตจากคนที่คุณรักมากที่สุดก็ไม่น่าแปลกใจที่คุณจะเลิกเชื่อในตัวคนอื่นไปแล้ว แม้ว่าคนที่เข้ามาจะดีสักแค่ไหน แต่คุณก็มีความรู้สึกกลัวไม่มั่นใจว่าเขาจะไม่ทำให้คุณเสียใจ
คุณไม่มีความเชื่ออีกต่อไปว่าทุกคนเป็นคนดีโดยพื้นฐานแล้วดังนั้นคุณจึงระมัดระวังตัวมากเกินไปในเรื่องความสัมพันธ์ที่โรแมนติก
สัญญาณอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าคุณประสบกับโรคกลัวความรัก ปัญหาความไว้วางใจที่คุณกำลังเผชิญอยู่คือคุณคิดอยู่ตลอดว่าทุกคนที่คุณพบจะทำร้ายคุณหรือเอาเปรียบคุณไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

5. คุณให้ความสำคัญกับชีวิตโสดของคุณมากเกินไป
อีกสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่าคุณกลัวการตกหลุมรักคือการที่คุณให้ความสำคัญกับสถานะโสดของคุณมากกว่าสิ่งใด ๆ
การใช้ชีวิตอยู่เดียวอยู่คนเดียวย่อมดีกว่าการมีแฟนที่เป็น Toxic ที่วันๆหาแต่เรื่องมาทะเลาะหรือทำร่างกายและจิตใจของคุณ และนี้จึงเป็นเหตุที่ทำให้คุณกอดความโสดไว้อย่างยาวนาน และไม่สามารถจินตนาการถึงการแบ่งปันชีวิตของคุณกับคนอื่นได้ จนคุณลืมไปแล้วว่าการมีความรักแบบโรแมนติกมันเป็นแบบไหน
แม้ว่ามันจะไม่ใช่สิ่งที่ง่ายที่สุดในการใช้ชีวิตอยู่คนเดียว แต่คุณก็เคยชินกับการอยู่คนเดียวโดยไม่ต้องให้ใครช่วย สวย....เก่ง.... สตรอง....ฉลาด และคุณก็ยังมีความมั่นใจตัวเองสูงอีกด้วย
คุณมีความเป็นของตัวเองและนิสัยบางอย่างที่คุณยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและต้องปรับตัวให้เข้ากับคนอื่น
สำหรับคุณชีวิตโสดกลายเป็นโลกใบเล็กๆของคุณ เป็นที่ที่ปลอดภัยที่สุด ที่ที่มีแต่ความสบายใจ และมันก็เป็นสิ่งที่คุ้นเคยสำหรับคุณ คุณอยู่บนคานทองอย่างมีความสุขและเพียบพร้อมไปทุกอย่าง จึงไม่มีเหตุผลที่คุณจะดึงคนอื่นเข้ามาเพื่อสร้างความวุ่นวายให้กับชีวิตคุณ
6. คุณรู้สึกถูกกักขังเมื่ออยู่ในความสัมพันธ์
ความคิดที่จะต้องผูกมัดกับคนเพียงคนเดียวไปตลอดชีวิตทำให้คุณกลัวชีวิตคู่ที่เหมือนตกอยู่ในนรก เพราะไม่พร้อมที่จะผูกติดอยู่กับคนเพียงคนเดียวตราบเท่าที่คุณยังหายใจ
ความสัมพันธ์ที่โรแมนติก ทำให้คุณรู้สึกเหมือนถูกขังและติดกับดัก มันเป็นภาวะของคนที่กลัวการตกลงใจ หรือกลัวที่จะคบใครแบบจริงๆ จังๆ
เมื่อใดก็ตามที่คุณพยายามที่จะมีแฟนคุณจะมีอาการตื่นตระหนกและกลัวการผูกมัดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
คุณมองว่าความสัมพันธ์อันแสนโรแมนติกเป็นจุดจบของชีวิต การคบกันฉันแฟนจะเป็นสิ่งที่จะทำให้คุณขาดความเป็นตัวของตัวเองโดยสิ้นเชิงและมันจะพรากอิสรภาพไปจากคุณ
ประเด็นนั้นก็คือ: คุณเป็นคนที่ชอบควบคุมชีวิตและอารมณ์ของตัวเองอย่างสมบูรณ์ การตกหลุมรักก็เช่นกันที่คุณสามารถควบคุมมันได้

7. คุณแค่ต้องการคู่นอนไม่ต้องการความสัมพันธ์
การที่คุณเป็นโรคกลัวความรักไม่ได้แปลว่าคุณไม่ชอบการมีเซ็กส์ แต่คุณสามารถมีเซ็กส์โดยปราศจากความรัก คุณอาจจะคิดว่านั้นคือการออกกำลังกายแบบหนึ่ง
ความจริงก็คือคุณต้องการใครสักคนที่จะจูบกอดและนอนด้วย อาจฟังดูแปลก แต่คุณไม่มีปัญหาอะไรกับการแสดงความเสน่หาในห้องนอน
ปัญหาคือความสัมพันธ์ที่มันจะเพิ่มระดับขึ้นหลังจากการมีเซ็กส์
การรักษาอาการ
การรักษาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงและความหวาดกลัว อาจใช้การบำบัด, ยา, การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหรือการรักษาร่วมกัน
การบำบัด
การบำบัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบำบัดพฤติกรรมทางความคิด cognitive behavioral therapy (CBT) ซึ่ง สามารถช่วยให้ผู้ที่ตกอยู่ในภาวะความกลัวได้ เปลี่ยนแปลงความคิดเชิงลบความเชื่อและปฏิกิริยาต่อแหล่งที่มาของความหวาดกลัวได้ การตรวจสอบแหล่งที่มาของความกลัวและการเช็คประวัติสาเหตุของความเจ็บปวดเป็นสิ่งสำคัญ
สถานการณ์สมมติอะไรที่จะมีประโยชน์ ถามคำถามนั้น เช่น:
- เกิดอะไรขึ้นถ้าความสัมพันธ์ไม่ได้ผล?
- จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป?
- ฉันยังโอเคไหม ?
“เรามักจะจินตนาการว่าปัญหาเหล่านี้มันใหญ่มากเแต่ถ้าหาก“ เราตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ เปลี่ยนเป็นการพูดคุยโต้ตอบกับ ‘สวัสดี” หากมีคนพูดว่า’ สวัสดี ‘กับคุณหรือพบปะเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานเพื่อดื่มกาแฟ สิ่งเหล่านี้จะสามารถลดกำแพงความกลัวของคุณลงมาได้
Sourch
Kommentare